วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

แรงโน้มถ่วง

               เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อนและ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางอ่านเพิ่มเติม

แรง

             แรง ในทางฟิสิกส์คือการกระทำจากภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพ โดยแรงเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน เช่น คนที่จูงสุนัขอยู่ด้วยเชือกล่าม ก็จะได้รับแรงจากเชือกที่มือ ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงไปข้างหน้า ถ้าแรงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ตามกฎข้อที่สองของนิวตันคือ เกิดความเร่ง ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ก็อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้เช่นอ่านเพิ่มเติม

ความเร่ง

            คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที²

เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนด อ่านเพิ่มเติม

อัตราเร็วและความเร็ว

           ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่  ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน  และต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่  จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้น  ปริมาณดังกล่าวคือ อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา  จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที  ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว อ่านเพิ่มเติม

ปริมาณต่างๆของการเคลื่อนที่

           ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรง ตำแหน่ง (position) คือ จุดที่บอกให้ทราบว่าวัตถุหรือสิ่งของ อยู่ทีใดเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง ระยะทาง (distance) คือ ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจากตำแหน่งเริ่มต้น ถึงตำแหน่งสุดท้าย จัดเป็นปริมาณสเกลลาร์ มีหน่วยเป็นเมตรอ่านเพิ่มเติม

เลขนัยสำคัญ

              คือ จำนวนหลักของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้ ดังนั้นตัวเลขนัยสำคัญจึงประกอบด้วยตัวเลขทุกตัวที่แสดงความแน่นอน (certainty) รวมกับตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่แสดงความไม่แน่นอน (uncertainty) ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ด้วย 

หน่วยอนุพันธ์

            คือหน่วยที่เกิดจากการรวมกันของหน่วยฐานเอสไอโดยการคูณหรือหาร เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณต่างๆ ซึ่งหน่วยอนุพันธ์สามารถมีได้มากมายไม่จำกัด เนื่องการปริมาณต่างๆในโลกนี้ที่คนเราอยากรู้ก็ไม่สามารถจำกัดได้ เพียงแต่เลือกหน่วยพื้นฐานมาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง อ่านเพิ่มเติม

หน่วยฐาน

         เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน โดยหน่วย เอสไออื่นๆที่เรียกว่าหน่วยอนุพันธ์เอสไอ จะเกิดจากการนำหน่วยฐานเอสไอมาประกอบกันทั้งหมด หน่วยฐานเอสไอมีทั้งหมด 7 หน่วยได้แก่
เมตรสำหรับวัดความยาว
กิโลกรัมสำหรับวัดมวล
วินาทีสำหรับวัดเวลา
แอมแปร์สำหรับวัดกระแสไฟฟ้า
เคลวินสำหรับวัดอุณหภูมิอุณหพลวัติ
แคนเดลาสำหรับวัดความเข้มของการส่องสว่าง

โมลสำหรับวัดปริมาณของสาร อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำอุปสรรค

       คำอุปสรรค (prefixes) เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนค่านั้นอยู่ในรูปตัวเลขคูณ ด้วย ตัวพหุคูณ (ตัวพหุคูณ คือ เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้ เช่น ระยะทาง 0.002 เมตร เขียนเป็น คำอธิบาย: http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section2_p01_html_eqn1.gif เมตร แทนด้วยคำอุปสรรค มิลลิ (m) ดังนั้นระยะทาง 0.002 เมตร อาจเขียนได้ว่า 2 มิลลิเมตร คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณและสัญลักษณ์ แสดงไว้ในตาอ่านเพิ่มเติม

ระบบหน่วยระหว่างชาติ

     การวัดปริมาณต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นนักวิทยาศาสตร์จะใช้ระบบหน่วยระหว่างชาติ (International System of Units) หรือ เรียกว่า ระบบ SI ซึ่งพัฒนามาจากระบบเมตริก เป็นระบบหน่วยมาตรฐานที่องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO หรือ International Organization for Standardization) กำหนดขึนให้ทุกประเทศใช้เป็น มาตรฐานเพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกโดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพีอ่านเพิ่มเติม